20 พฤศจิกายน 2552

จังหวัดราชบุรี

"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี"
........
........จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง " เมืองพระราชา" ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษา และขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลางตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัวอำเภอเมืองราชบุรีพระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญและ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย
........โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้งครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง(ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้ายกลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรีทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน
........ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๑๘ โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า “ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่หลากหลายชาติพันธุ์และกลุ่มชนที่สุดแห่งหนึ่ง • ราชบุรีในวันนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม งานหัตถกรรมเครื่องปั้น เครื่องหล่อ ทอถักจักสาน ถ้ำธารป่าเขา และธรรมชาติที่งดงามท้ายทายการมาเยือนของผู้คนจากทุกมุมโลก• จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ ๕,๑๙๖ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านโป่งและกิ่งอำเภอบ้านคา
........อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม ทิศตะวันตก ติดต่อประเทศสหภาพพม่า
........เทศบาลเมืองราชบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลมีชื่อว่า สุขาภิบาลเมืองราชบุรีซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมือง รศ 127 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2458 และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองราชบุรี เมื่อพุทธศักราช 2478 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 สุขาภิบาลเมืองราชบุรีจึงมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองราชบุรี รวมระยะเวลาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองราชบุรี ถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาประมาณ 65 ปี ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลเมืองราชบุรีตั้งอยู่ที่ถนนศรีสุริยวงศ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
........ที่มา : http: //rd.go.th

ราชบุรี...นานมาแล้ว



........ราชบุรีนับเป็นดินแดนที่น่าทึ่ง มีชัยภูมิที่ตั้งของแผ่นดินที่เหมาะสม แวดล้อมด้วยเทือกเขาตะนาวศรีภาคตะวันตกที่มียอดสูงสุดและยังเป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์อยู่ที่อำเภอสวนผึ้ง ตามแนวเขาอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น ดีบุก วุลแฟรม เฟลสปาร์ ควอตซ์ แกรนิต หินปูน ป่าอุดมสมบูรณ์มีทั้งป่าดิบ ป่าเขา ป่าเบญจพรรณ มีแม่น้ำแม่กลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบต่ำในเขตน้ำทะเลหมุน

ชุมชนโบราณ
........มีการขุดพบชุมชนโบราณก่อนพุทธกาลที่ถ้ำเขาขวาก ตำบลหนองกวาง อำเภอโพธาราม เป็นโครงมนุษย์ที่ยังใส่กำไลสำริด ต่างหูลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว และลูกปัดกระดูก พบภาชนะดินเผาและเครื่องมือโลหะเหล็กและยังพบเครื่องคล้ายกันนี้ที่โคกพลับ อำเภอบางแพ พบที่บ้านปากบึง อำเภอจอมบึง สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนที่รู้จักใช้โลหะแล้ว ขุดพบชุมชนมนุษย์ที่เหมืองโบราณ ใช้ภาชนะสำริดที่มีลวดลายคนและสัตว์ เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่รู้จักใช้เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด กำไลหิน และจักรหิน ที่หุบเขาจมูกบริเวณริมห้วยสวนพลู มีเส้นทางติดต่อกับลำน้ำภาชีบริเวณที่มีการทำเหมืองดีบุก พบภาชนะสำริดเป็นชามและขัน

........ชุมชนโบราณมักอาศัยตามเขาและถ้ำ จึงพบซากมนุษย์ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอย ภาชนะต่างๆ ตั้งแต่ยุคหินสู่ยุคโลหะเหล็กและทองสำริด อายุ 500 ปีก่อนคริสตกาล

จากถ้ำสู่เมือง
........จากการขุดค้นพบเมืองโบราณคูบัว พบร่องรอยวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งทวารวดีเป็นยุคสมัยแห่งความเป็นอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 11-12 ถือเป็นอาณาจักรแห่งความเจริญในยุคที่สำคัญมากยุคหนึ่ง

........เมืองโบราณคูบัวในปัจจุบันที่เหลือเพียงซาก อยู่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองออกไป 5 กิโลเมตร พบว่าจากร่องรอยทางภูมิศาสตร์ถือเป็นเมืองท่าเรือ เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำอ้อมหรือเป็นแม่น้ำแม่กลองสายเก่า ซึ่งเป็นลำน้ำที่อ้อมจากอำเภออัมพวาผ่านวัดเพลง ไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง ทำให้คูบัวกลายเป็นเมืองท่าชายฝั่งที่ติดต่อถึงทะเลได้ในสมัยทวารวดี และยังมีความสัมพันธ์กับนครชัยศรี โดยเฉพาะเมืองอู่ทองลุ่มแม่น้ำท่าจีน

........ร่องลอยที่ยังคงเหลือ พบเปลือกหอยแครงทับถมมากมาย ดินเผาสำหรับปั่นฝ้ายพวยกา ลูกตุ้มถ่วงแห เนินพระสถูปก่ออิฐแบบทวารวดี มีพระพุทธรูปและพระพิมพ์สมัยทวารวดีที่ยังเหลืออยู่ ฐานเจดีย์โบราณที่วัดโขลงอยู่กลางเมืองโบราณคูบัว อายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับยุครุ่งเรืองของเมืองโบราณคูบัว

........วันเวลาผ่านไปเมืองโบราณคูบัวได้ขยับขยายเคลื่อนย้ายชุมชนไปตามแนวสันทราย ที่ปัจจุบันคือ “ถนนท้าวอู่ทอง” ที่เริ่มจากบริเวณบ้านตากแดด อำเภอบางแพ ผ่านบ้านโพหักไปยังอำเภอเมือง ผ่านคูบัวไปยังอำเภอปากท่อ เข้าเขาย้อยออกท้องทะเลที่เพชรบุรี

........ในศตวรรษที่ 16 ชุมชนคนราชบุรีได้โยกย้ายจากคูบัวมาอยู่ใกล้แม่น้ำแม่กลอง ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาสมัยห้าราชวงศ์และสมัยซ้องที่ท้องน้ำแม่กลอง พบหม้อดินเผาคอสูง ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดีตอนปลาย

........เข้าศตวรรษที่ 18 อิทธิพลของขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครวัดนครธม ได้แผ่เข้าอาณาจักรไทยและไหลเรื่อยมาจนถึงราชบุรี ศิลปะแบบบายนจึงพบเห็นที่ราชบุรี เช่น พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วใบระกาเหนือกำแพงศิลาแลงและประติมากรรมรูปครุฑยุคนาคที่อยู่ตรงทางเข้าระเบียงคดด้านทิศตะวันตกที่วัดมหาธาตุ

........ประมาณศตวรรษที่ 19-20 ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้จารึกนามราชบุรีเป็นเมืองร่วมสมัยกับสุโขทัย แพรกศรีราชา สุพรรณภูมิ เพชรบุรีและนครศรีธรรมราช

ตราประจำจังหวัดราชบุรี


ความหมายของตราประจำจังหวัดราชบุรี
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ
1. ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง
2. ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่ เพราะชื่อจังหวัดราชบุรี มีความหมายว่า เมืองของพระราชา
.
.
.
.
.
.
.
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.


ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นโมกมัน (Wrightia tomentosa)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เมืองชายแดน
........ดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของคนโบราณ เข้าสู่การเป็นชุมชนที่พัฒนาตนเองขึ้นมาจากลุ่มแม่น้ำแม่กลอง จนกระทั่งเข้าสู่การเป็นเมืองพร้อมๆ กับถูกจารึกชื่อในยุคร่วมสมัยกับสุโขทัย แต่ด้วยเป็นดินแดนที่อยู่ชายแดนต่อกับสหภาพพม่า มีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นพรมแดน ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นแหล่งตั้งชุมชนของบรรดาเชลยศึกที่กวาดต้อนมาจากที่ต่างๆ ทั้งลาว เขมร ยวน โซ่ง ส่วนจีนอพยพเข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งพบหลักฐานจากเครื่องปั้นดินเผาแผ่นอิฐแบบจีน เหรียญอีแปะจีนและภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์วัดมหาธาตุ ส่วนมอญและกะเหรี่ยงอพยพลี้ภัยเข้ามาในแผ่นดินไทย
........สมัยอยุธยาตอนต้น พม่ายกทัพมาตีไทย ใช้เส้นทางจากด่านเจดีย์สามองค์ลงมาตามลำน้ำแควน้อยสู่เมืองกาญจนบุรี ผ่านสุพรรณบุรี อ่างทอง เข้ากรุงศรีอยุธยา เมืองราชบุรีจึงปลอดศึกสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ.2303 เกิดศึกอลองพญา พม่าเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพ ผ่านเข้าทางทวายตัดขึ้นเพชรบุรี เข้าราชบุรี ออกสุพรรณบุรีสู่อู่ทอง แล้วตรงเข้ากรุงศรีอยุธยา ราชบุรีจึงเปลี่ยนจากเมืองสงบกลายเป็นเมืองยุทธศาสตร์
........ในยามนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรั้งตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เมื่อเมืองหลวงย้ายจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่ที่กรุงธนบุรี และกรุงเทพมหานครในที่สุด บทบาทราชบุรีสำคัญยิ่งขึ้นในรัชกาลที่ 2 ได้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งแม่น้ำด้านตะวันตกมาอยู่ด้านตะวันออก ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งกรมทหารราชบุรีและกรมการทหารช่าง เมื่อราชบุรีกลายเป็นสมรภูมิรบ ทำให้ราษฎรอพยพหนี เมื่อพระเจ้าตากสินและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงทำศึกชนะ ก็กวาดต้อนเชลยศึกมาอาศัยอยู่ราชบุรี มีทั้งลาวโซ่ง ลาวยวน ลาวเวียงและเขมร ส่วนมอญและกะเหรี่ยงอพยพจากพรมแดนมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทำหน้าที่เป็นกองสอดแนมและผู้ชำนาญทางด้านชายแดนให้กับไทย ดังมีขุนพิทักษ์ คีรีมาส เป็นหัวหน้าและเป็นชาวกะเหรี่ยง
ราชบุรีพัฒนาเป็นชุมชนการค้า
........สงครามระหว่างไทยกับพม่าสงบลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในช่วงรัชกาลที่ 2 และในปี พ.ศ.2398 ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้การค้าที่ผูกขาดด้วยรัฐผ่อนคลายลงมาก การค้าเสรีมากขึ้น ดินที่อุดมสมบูรณ์ของราชบุรีถูกถางเตียน เพื่อทำไร่ปลูกอ้อย มีโรงหีบอ้อยผลิตน้ำตาลหลายแห่งเกิดขึ้นที่ราชบุรี
ที่มา : ยอดแต้ว อักษรา. ราชบุรี. (2543). แสงเเดด, กรุงเทพฯ

5

6

8

9

10